×

ข่าวสารและกิจกรรม  

ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ผ้า

สถานที่

ณ พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

แชร์

ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ผ้า

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผ้าไทย และประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกายของคนไทย พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จึงเป็นสถานที่รวบรวมจัดเก็บรักษาผ้าไทยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดแสดงงานหัตถศิลป์จากผ้าอันทรงคุณค่าของราชสำนักและผ้าพื้นเมืองต่างๆ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์การทอผ้าของไทย ให้คงอยู่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างอาคาร ๒ ชั้นเป็นแถวยาวเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ และพระราชทานนาม หอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อเป็นที่ทำการกรมพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่บริหารงานด้านการจัดเก็บระเบียบภาษีอากร โดยท่านผู้หญิงเล่าว่าเริ่มจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จแปรพระราชฐานไปวังไกลกังวล ทำให้ทั้งสองพระองค์มีโอกาสเยี่ยมราษฎร จึงได้เกิดโครงการอ่างเก็บน้ำเขาเต่า ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำแห่งแรก และเกิดโครงการทอผ้าฝ้ายบ้านเขาเต่า ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมภาคอีสานเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๓ ทั้งสองพระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรจึงเป็นที่มาของโครงการทอผ้า แต่ช่วงเวลานั้นยังไม่ได้เป็นมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพซึ่งทรงทำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะไม่นำของไปแจกเฉยๆ แต่จะต้องทำให้ชาวบ้านช่วยเหลือตัวเองได้ถาวร โดยงานทอผ้าเป็นงานที่ชาวบ้านคุ้นเคยอยู่แล้ว พระองค์ท่านจะไม่นำสิ่งที่เขาไม่คุ้นคยหรือสิ่งที่จะไปเพิ่มภาระให้กับชาวบ้านไปให้ทำ โดยเริ่มแรกส่งคณะราตรีเพื่อลงพื้นที่เก็บผ้าจากชาวบ้านเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๓ จนมาตั้งเป็นมูลนิธิเมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๙ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และนอกจากงานผ้าต่างๆ ปัจจุบันก็เกิดเป็นงานอื่นๆ ทั้ง งานถมทอง งานจักสาน หากมองย้อนกลับไปถ้าวันนั้นพระองค์ท่านไม่ได้ทำงานเหล่านี้ดิฉันเชื่อว่าผ้าต่างๆ ทั้งผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าจก ผ้าแพรวา ปัจจุบันเราอาจจะต้องไปหาดูตามพิพิธภัณฑ์หรือของสะสมส่วนตัวของนักสะสม

ผู้รับผิดชอบโครงการพิพิธภัณฑ์ผ้าคนแรกคือ อาจารย์สมิทธิ ศิริภัทร นอกจากนี้จะมีที่ปรึกษาชาวต่างชาติที่จะมาช่วยดูแลเรื่องพิพิธภัณฑ์อีกสองท่านคือคุณเดล (Dale Gluckman) และคุณเมลิสา (Melissa Levinton) โดยอาจารย์สมิทธิเป็นผู้มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์และเป็นอาจารย์สอนที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งอาจารย์เป็นผู้วางแนวทาง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ รวมถึงโถงด้านหน้าที่ทุกท่านเห็นก็เป็นฝีมือการออกแบบของอาจารย์ด้วยเช่นกัน โดยได้มีการเดินทางไปศึกษาดูงานในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบพิพิธภัณฑ์